รู้หรือไม่ ? ค่ามาตรฐานความสว่างสำหรับโคมไฟโรงงานอยู่ที่เท่าไหร่ ?

รู้หรือไม่ ? ค่ามาตรฐานความสว่างสำหรับ โคมไฟโรงงานอยู่ที่เท่าไหร่ ?

สำหรับโรงงานแล้วแสงสว่างถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นสิ่งที่ทำให้กิจกรรมดำเนินต่อไปได้ เพราะมีแสงสว่าง บางโรงงานที่ยังใช้โคมไฟรุ่นเก่าแสงนั้นอาจจะไม่เพียงพอต่อการใช้งานสำหรับตอนแรกที่มีการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นโคมไฟเมทัลฮาไลท์ หลอด t8 ที่ใช้ในไลน์ผลิดหรือแม้แต่สำนักงานทั่วไปก็อาจจะใช้งานได้ดี แต่เมื่อใช้ไปในระยะเวลาหนึ่งแสงอาจจะเริ่มมีการเปลี่ยนสีจากแสงสี Daylight เริ่มออกเป็นสีเหลืองๆจากงานที่ต้องมีการใช้แสงเพื่อช่วยเหลือการทำงาน การแยกแยะสีสีนต่างๆ ก็อาจจะทำให้เกิดการผิดพลาดได้ เนื่องจากแสงของหลอดไฟนั้นไม่เพียงพอและสีที่ส่องสว่างออกมานั้นผิดเพี้ยนไป

สำหรับข้อกำหนดต่างๆในแต่ละโรงงานนั้นอาจจะมีมาตรฐานที่แตกต่างกัน แต่ในทางกฎหมายนั้นมีมาตรฐานความสว่างที่เป็นพื้นฐานอยู่ ว่าแต่ละโรงงานนั้นต้องมีแสงสว่างหรือที่เรียกกันว่าค่าลักซ์นั้นต้องไม่ต่ำกว่ากฎหมายกำหนดไว้ สำหรับโรงงานใดที่มีแสงสว่างต่ำกว่ากำหนดเมื่อทำการเปรียบเทียบแล้วราคาของหลอดไฟ LED นั้นสูงกว่าหลอดไฟแบบเก่าก็ไม่คิดที่จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือยังไม่คิดจะเปลี่ยนและยังใช้หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์แบบเก่าอายุการใช้งานนั้นค่อนข้างสั้นถึงแม้จะถูกก็จริง แต่ถ้าเปลี่ยนบ่อยๆแนะนำว่าหันมาใช้หลอดไฟ LED จะประหยัดขึ้นมากเลยทีเดียว เมื่อหลอดไฟมีการกระพริบหรือใช้เวลาในการเปิดนานก็เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าต้องเปลี่ยนหลอดไฟแล้วถ้ายังใช้ต่อและปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปก็อาจจะทำให้เกิดอันตรายและก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้สำหรับโรงงานใดที่มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน หรือที่เราเรียกกันว่า จป.เข้ามาทำการตรวจแสงสว่างแล้วเมื่อพบว่าค่าแสงของโคมไฟโรงงานนั้นไม่เท่ากับที่กฎหมายกำหนดนั้น ผลสุดท้ายคุณก็ต้องเปลี่ยนอยู่ดี ซึ่งในแต่ละพื้นที่ของโรงงาน ค่าความสว่างนั้นก็จะมีความแตกต่างกันออกไปดังนี้

ตารางที่ 1 มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง ณ บริเวณพื้นที่ทั่วไปและบริเวณการผลิตภายในสถานประกอบกิจการ

บริเวณพื้นที่และ/หรือลักษณะงาน

ลักษณะพื้นที่เฉพาะ

ตัวอย่างบริเวณพื้นที่

และ/หรือลักษณะงาน

ค่าเฉลี่ยความเข้ม

ของแสงสว่าง

(ลักซ์)

จุดที่ความเข้มของ

แสงสว่างต่ำสุด

(ลักซ์)

บริเวณพื้นที่ทั่วไปที่มีการสัญจรของบุคคลและ/หรือยานพาหนะในภาวะปกติ และบริเวณที่มีการสัญจรในภาวะฉุกเฉิน

ทางสัญจรในภาวะ

ฉุกเฉิน

ทางออกฉุกเฉิน เส้นทางหนีไฟ บันไดทางฉุกเฉิน

(กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินไฟดับ โดยวัดตามเส้นทางของ

ทางออกที่ระดับพื้น)

10

ภายนอกอาคาร

ลานจอดรถ ทางเดิน บันได

50

25

ประตูทางเข้าใหญ่ของสถานประกอบกิจการ

50

ภายในอาคาร

ทางเดิน บันได ทางเข้าห้องโถง

100

50

ลิฟท์

100

บริเวณพื้นที่ใช้ประโยชน์ทั่วไป

 

ห้องพักฟื้นสำหรับการปฐมพยาบาล ห้องพักผ่อน

50

25

ป้อมยาม

100

– ห้องสุขา ห้องอาบน้ำ

– ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า

– ห้องลอบบี้หรือบริเวณต้อนรับ

– ห้องเก็บของ

100

50

โรงอาหาร ห้องปรุงอาหาร ห้องตรวจรักษา

300

150

บริเวณพื้นที่ใช้ประโยชน์ในสำนักงาน

 

– ห้องสำนักงานห้องฝึกอบรมห้องบรรยายห้องสืบค้นหนังสือ/เอกสารห้องถ่ายเอกสารห้องคอมพิวเตอร์ห้องประชุม บริเวณโต๊ะประชาสัมพันธ์หรือติดต่อลูกค้า พื้นที่ห้องออกแบบ เขียนแบบ

300

150

บริเวณพื้นที่ใช้ประโยชน์ในกระบวนการผลิตหรือการปฏิบัติงาน

 

ห้องเก็บวัตถุดิบ บริเวณห้องอบหรือห้องทำให้แห้งของ

โรงซักรีด

100

50

– จุด/ลานขนถ่ายสินค้า

– คลังสินค้า

– โกดังเก็บของไว้เพื่อการเคลื่อนย้าย

– อาคารหม้อน้ำ

– ห้องควบคุม

– ห้องสวิตซ์

200

100

– บริเวณเตรียมการผลิต การเตรียมวัตถุดิบ

– บริเวณพื้นที่บรรจุภัณฑ์

– บริเวณกระบวนการผลิต/บริเวณที่ทำงานกับเครื่องจักร

– บริเวณการก่อสร้าง การขุดเจาะ การขุดดิน

– งานทาสี

300

150

 

ตารางที่ 2 มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง ณ บริเวณที่ลูกจ้างต้องทำงาน โดยใช้สายตามองเฉพาะจุดหรือต้องใช้สายตาอยู่กับที่ในการทำงาน

การใช้สายตา

ลักษณะงาน

ตัวอย่างลักษณะงาน

ค่าความเข้มของแสงสว่าง (ลักซ์)

งานหยาบ

งานที่ชิ้นงานมีขนาดใหญ่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน มีความแตกต่างของสีชัดเจนมาก

– งานหยาบที่ทำที่โต๊ะหรือเครื่องจักร ชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่กว่า 750 ไมโครเมตร

(0.75 มิลลิเมตร)

– การตรวจงานหยาบด้วยสายตา การประกอบ การนับ การตรวจเช็คสิ่งของที่มีขนาดใหญ่

– การรีดเส้นด้าย

– การอัดเบล การผสมเส้นใย หรือการสางเส้นใย

– การซักรีด ซักแห้ง การอบ

– การปั๊มขึ้นรูปแก้ว เป่าแก้ว และขัดเงาแก้ว

– งานตี และเชื่อมเหล็ก

200-300

 

งานละเอียดเล็กน้อย

งานที่ชิ้นงานมีขนาดปานกกลาง สามารถมองเห็นได้และมีความแตกต่างของสีชัดเจน

– งานรับจ่ายเสื้อผ้า

– การทำงานไม้ที่ชิ้นงานมีขนาดปานกลาง

– งานบรรจุน้ำลงขวดหรือกระป๋อง

– งานเจาะรู ทากาว หรือเย็บเล่มหนังสือ          งานบันทึกและคัดลอกข้อมูล

– งานเตรียมอาหาร ปรุงอาหาร และล้างจาน

– งานผสมและตกแต่งขนมปัง

– การทอผ้าดิบ

300-400

งานที่ชิ้นงานมีขนาดปานกลางหรือเล็ก สามารถมองเห็นได้แต่ไม่ชัดเจน และมีความแตกต่างของสีปานกลาง

– งานประจำในสำนักงาน เช่น งานเขียน งานพิมพ์ งานบันทึกข้อมูล การอ่านและประมวลผลข้อมูล การจัดเก็บแฟ้ม

– การปฏิบัติงานที่ชิ้นงานมีขนาดตั้งแต่ 125 ไมโครเมตร (0.125 มิลลิเมตร)

– งานออกแบบและเขียนแบบ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์

– งานประกอบรถยนต์และตัวถัง

– งานตรวจสอบแผ่นเหล็ก

– การท างานไม้อย่างละเอียดบนโต๊ะหรือที่เครื่องจักร

– การทอผ้าสีอ่อน ทอละเอียด

– การคัดเกรดแป้ง

– การเตรียมอาหาร เช่น การทำความสะอาด การต้มฯ

– การสืบด้าย การแต่ง การบรรจุในงานทอผ้า

400-500

 

 

งานละเอียดปานกลาง

งานที่ชิ้นงานมีขนาดปานกลางหรือเล็ก สามารถมองเห็นได้แต่ไม่ชัดเจน และมีความแตกต่างของสีบ้างและต้องใช้สายตาในการทำงานค่อนข้างมาก

– งานระบายสี พ่นสีตกแต่งสีหรือขัดตกแต่งละเอียด

– งานพิสูจน์อักษร

– งานตรวจสอบขั้นสุดท้ายในโรงผลิตรถยนต์

500-600

– งานออกแบบและเขียนแบบ โดยไม่ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์

– งานตรวจสอบอาหาร เช่น การตรวจอาหารกระป๋อง

– การคัดเกรดน้ำตาล

600-700

งานละเอียดสูง

งานที่ชิ้นงานมีขนาดเล็ก สามารถมองเห็นได้แต่ไม่ชัดเจน และมีความแตกต่างของสีน้อย ต้องใช้สายตาในการทำงานมาก

– การปฏิบัติงานที่ชิ้นงานมีขนาดตั้งแต่ 25ไมโครเมตร (0.025 มิลลิเมตร)

– งานปรับเทียบมาตรฐานความถูกต้องและความแม่นยำของอุปกรณ์

– การระบายสี พ่นสี และตกแต่งชิ้นงานที่ต้องการความละเอียดมากหรือต้องการ

ความแม่นยำสูง

– งานย้อมสี

700-800

งานที่ชิ้นงานมีขนาดเล็ก สามารถมองเห็นได้แต่ไม่ชัดเจน และมีความแตกต่างของสีน้อย ต้องใช้สายตาในการทำงานมากและใช้เวลาในการทำงาน

– การตรวจสอบ การตัดเย็บเสื้อผ้าด้วยมือ

– การตรวจสอบและตกแต่งสิ่งทอ สิ่งถัก หรือเสื้อผ้าที่มีสีอ่อนขั้นสุดท้ายด้วยมือ

– การคัดแยกและเทียบสีหนังที่มีสีเข้ม

– การเทียบสีในงานย้อมผ้า

– การทอผ้าสีเข้ม ทอละเอียด

– การร้อยตะกร้อ

800-1200

งานละเอียดสูงมาก

งานที่ชิ้นงานมีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน และมีความแตกต่างของสีน้อยมากหรือมีสีไม่แตกต่างกัน ต้องใช้สายตาเพ่งในการทำงานมาก

และใช้เวลาในการทำงานระยะเวลานาน

– งานละเอียดที่ทำที่โต๊ะหรือเครื่องจักร ชิ้นงานที่มีขนาดเล็กกว่า 25 ไมโครเมตร (0.025 มิลลิเมตร)

– งานตรวจสอบชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็ก

– งานซ่อมแซม สิ่งทอ สิ่งถักที่มีสีอ่อน

– งานตรวจสอบและตกแต่งชิ้นส่วนของสิ่งทอ สิ่งถักที่มีสีเข้มด้วยมือ

– การตรวจสอบและตกแต่งผลิตภัณฑ์สีเข้มและสีอ่อนด้วยมือ

1200-1600

 

งานละเอียดสูงมากเป็น

พิเศษ

งานที่ชิ้นงานมีขนาดเล็กมากเป็น พิเศษไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน และมีความแตกต่างของสีน้อยมากหรือมีสีไม่แตกต่างกัน ต้องใช้

สายตาเพ่งในการทำงานมากหรือใช้ทักษะและความชำนาญสูง และใช้เวลาในการทำงานระยะเวลานาน

– การปฏิบัติงานตรวจสอบชิ้นงานที่มีขนาดเล็กมากเป็นพิเศษ

– การเจียระไนเพชร พลอย การทำนาฬิกาข้อมือสำหรับกระบวนการผลิตที่มีขนาด

เล็กมากเป็นพิเศษ

– งานทางการแพทย์ เช่น งานทันตกรรม ห้องผ่าตัด

2400

หรือมากกว่า

 

 

โดยได้ทำการอ้างอิงมาจากราชกิจจานุเบกษาประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง สำหรับอุตสาหกรรมต่างๆก็อย่าลืมตรวจสอบความสว่างภายในโรงงานของตนเองด้วยเพื่อไม่ให้น้อยกว่าที่มาตรฐานกำหนด และถ้ายังไม่รู้จะซื้อหลอดไฟแบบไหนดีสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ www.ledinfinite.com

โคมไฮเบย์/โคมไฟโรงงาน LED INFINITE | HIGHBAY LED 100W (UFO 2020) SUPER HIGH LUMEN ลูเมนสูง

  • ประสิทธิภาพความสว่าง (Lumen Effiency) สูงถึง 180lm/w
  • LED CHIP ระดับโลก (OSRAM / SEOUL SEMI)
  • ผ่านมาตรฐานการทดสอบคุณภาพมากมาย เช่น มอก. LM79 LM80+TM21 และยังมีผลทดสอบอื่นๆ อีกมากมาย
  • วงจรป้องกันไฟกระชาก (Surge Protection) 2000V
  • รับประกันยาวนานถึง 3 ปี 
  • คุ้มค่า ทนทาน มาตรฐานสูง

หลอดไฟ T8 LED ขั้ว G13 รุ่น SUPERBRIGHT 24W 3600 ลูเมน (LUMEN)

  • ที่สุดของหลอดไฟ T8 สว่างกว่าหลอดทั่วไปกว่า 2 เท่า !!
  • ได้ความสว่าง “เต็ม” 3600 ลูเมน
  • ประสิทธิภาพความสว่าง (Lumen Effiency) สูงถึง 150lm/w
  • LED CHIP ระดับโลก (OSRAM / SEOUL SEMI)
  • ผ่านมาตรฐานการทดสอบคุณภาพมากมาย เช่น มอก. LM79 LM80+TM21 และยังมีผลทดสอบอื่นๆ อีกมากมาย
  • วงจรป้องกันไฟกระชาก (Surge Protection) 2000V
  • รับประกันยาวนานถึง 3 ปี 
  • คุ้มค่า ทนทาน มาตรฐานสูง
Video ความรู้ เกี่ยวกับ หลอดไฟled และ โคมไฟไฮเบย์ ,โคมไฟถนนโซล่าเซลล์

หลอดไฟ LED | โคมไฟ LED อื่นๆที่น่าสนใจ (Related Products)

Scroll to Top