มอก คืออะไร

มอก.2779-2562 คืออะไร และสำคัญกับมาตรฐานความปลอดภัยหลอดไฟ LED อย่างไร

สารบัญ

มอก.2779-2562 คืออะไร และเป็นมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับ หลอดไฟ LED อย่างไร

เนื่องจากปัจจุบัน เทคโนโลยีไดโอดเปล่งแสงเป็นที่นิยมอย่างมากในการนำมาผลิตสินค้า หลอดไฟ LED และมีวางจำหน่ายหลากหลายประเภทในท้องตลาด    ดังนั้นเพื่อให้สินค้าเหล่านี้มีความปลอดภัยและถูกต้องตามมาตรฐานเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค  จึงมีการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหลอดแอลอีดีออกมา โดยเฉพาะด้านความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ในการติดตั้งหลอดไฟ  มอก.2779-2562 จึงเป็นมาตรฐานประเภทหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทในการกำหนดมาตรฐานหลอดไฟแอลอีดี และมีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2565 

  มอก ความปลอดภัยหลอดไฟแอลอีดี

มอก.2779 – 2562 คืออะไร

มอก. 2779 – 2562 หรือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม   หลอดแอลอีดีขั้วคู่ที่ออกแบบเพื่อเปลี่ยนทดแทน            หลอดฟลูออเรสเซนซ์ชนิดตรงคุณลักษณะที่ต้องการด้านความปลอดภัย

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 2779–2562 นี้เป็นการอ้างอิงมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับหลอดไฟ LED Tube T8 และ T5 จากมาตรฐานสากล IEC 62776:2014+COR1:2015 เพื่อควบคุมการออกแบบหลอดไฟ LED Tube ให้มีความปลอดภัยในการใช้งาน

สำหรับมาตรฐานหลอดแอลอีดีเปลี่ยนทดแทนขั้วคู่  ซึ่งทั่วไปเรียกว่า หลอดแอลอีดีชนิด T5, T8  หรือ หลอดแอลอีดีแบบยาว จะควบคุมเรื่องความปลอดภัยในขณะใช้งาน เพื่อป้องกันไฟรั่ว  ไฟดูด ควบคุมอุณหภูมิของขั้วหลอดในภาวะไฟฟ้าวิกฤติ และการติดไฟ เป็นต้น มอก แอลอีดี

ขอบข่าย มอก. 2779 – 2565

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ครอบคลุมเฉพาะคุณลักษณะที่ต้องการด้านความปลอดภัยและการสับเปลี่ยนทดแทนกันได้ และการทำงานแลกเปลี่ยนกัน รวมทั้งวิธีทดสอบและเงื่อนไขในการทดสอบเพื่อแสดงการเป็นไปตามข้อกำหนดของหลอดแอลอีดีขั้วคู่ที่มีขั้วหลอดแบบ G5 และแบบ G13 

ขั้วหลอดแบบ G5 และ G13 ( คลิกอ่านได้ที่นี่ )

หลอดไฟ ขั้ว G5 

คือ ที่ใช้แทน หลอดผอม หรือหลอดผอมเบอร์ 5 หลอด T5 แบบเก่า

หลอด T5 คือหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 หุน (5/8”)หรือโดยทั่วไปจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มิลลิเมตร ขั้วหลอดจะเป็น G5 ใช้แทนหลอดนีออน หรือ หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent lamp) 

สำหรับ “T” หมายถึง หลอดที่มีลักษณะเป็นหลอดทรงคล้ายท่อ (Tubular) ตัวเลขต่อท้าย “T”แสดงความยาว เส้นผ่านศูนย์กลางเป็นหุน หลอด   T5   จึงมีขนาดเล็กกว่าหลอด T8 ประมาณร้อยละ  40 และเล็กกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ธรรมดา 

ลักษณะขั้วของ หลอด  T5 , T8  จะเห็นว่า ขั้วหลอดไฟ ของ  T5 จะแตกต่างจากขั้วของ T8     ซึ่งหลอด T5 จะสั้นกว่าหลอด T8 อยู่นิดหน่อย

หลอดไฟ ขั้ว G13 

ก็คือ ขั้วหลอดไฟ นีออนนั้นเอง โดยจะนำมาใช้กับหลอดนีออน T8 (ฟลูออเรสเซนต์)

ส่วน T8 ย่อมาจาก Tube หมายถึงหลอดไฟที่มีลักษณะแบบเดียวกับท่อ ดั่งเช่นหลอดผอม ส่วนเลข 8 นั้น เป็นขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางหลอดไฟ มีหน่วยเป็นหุน T8 = 8 หุน หรือ 1 นิ้ว ขนาดวัตต์ 18w (หลอดสั้น) และ 36w (หลอดยาว)ซึ่งหลอดนีออนเดิมนั้นต้องใช้ควบคู่กับ บัลลาสต์ และ สตาร์ทเตอร์ เพื่อทำให้หลอดติด หรือ ใช้กับ บัลลาสต์อิเล็คทรอนิกส์อย่างเดียวก็ได้เหมือนกัน และปัจจุบันหลอดแอลอีดีได้มีการผลิตขึ้นเพื่อใช้แทนหลอดนีออนเดิมแล้ว โดยมีชื่อเรียกว่า หลอด LED T8 TUBE ซึ่งช่วยให้ประหยัดไฟลงได้มากถึง 80% เลยทีเดียว ติดตั้งก็ง่าย ไม่ต้องใช้ บัลลาสต์(Ballast)และ สตาร์ทเตอร์(Starter) ให้ความสว่างมากกว่า และความร้อนต่ำกว่าอีกด้วย

 

ขอบข่ายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้ทดแทนหลอดฟลูออเรสเซนซ์ที่มีขั้วหลอดแบบเดียวกัน และมีขอบเขตดังนี้

กำลังไฟฟ้าที่กำหนด ไม่เกิน 125 W

แรงดันไฟฟ้าที่กำหนด ไม่เกิน 250 V

หลอดแอลอีดีเหล่านี้ออกแบบสําหรับการเปลี่ยนทดแทนโดยไม่จําเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขภายในดวงโคมไฟฟ้า  ดวงโคมไฟฟ้าที่มีอยู่ (ซึ่งจะใส่หลอดแอลอีดีขั้วคู่) สามารถทํางานได้โดยใช้อุปกรณ์ควบคุมหลอดแบบแม่เหล็กไฟฟ้า หรือแบบอิเล็กทรอนิกส์

(ที่มาแหล่งข้อมูลจาก https://service.tisi.go.th/fulltext/TIS-2779-2562p.pdf)

โดยมอก.นี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป เนื่องจาก มอก. 2779 – 2562 นี้เป็นมอก.บังคับ ส่งผลให้ผู้ผลิต และผู้นำเข้าหลอดไฟ LED Tube T8 และ T5 ทุกรายจะต้องได้รับมอก.นี้ก่อนนำมาจำหน่ายภายในประเทศไทยเท่านั้น  การจำหน่ายหลอดไฟ LED Tube ที่ไม่ได้รับมอก.นี้ไม่สามารถทำได้และผิดกฎหมาย

มอก 2779 วีดีโอ Youtube : ขั้ว G5 และ G13 ดังนั้นเพื่อป้องกันผู้บริโภคที่ใช้หลอดไฟแอลอีดีอีกทางหนึ่ง ที่อาจไม่เข้าใจเรื่องของขั้วหรือประเภทหลอด ก็ช่วยให้ปลอดภัยย่ิงขึ้นสำหรับการเปลี่ยนหลอดไฟ มาตรฐานมอก. 2779 – 2562นี้นับว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคสำคัญอีกมาตรฐานหนึ่งเลยทีเดียว
Scroll to Top