พลังงานแสงอาทิตย์ ข้อดี ข้อเสีย

พลังงานแสงอาทิตย์ ข้อดี ข้อเสีย คืออะไรและเกี่ยวข้องกับโซล่าเซลล์อย่างไร

พลังงานแสงอาทิตย์ ข้อดี ข้อเสีย มีอะไรบ้างที่ได้รวบรวมไว้บทความนี้  ปัจจจุบัน การนำพลังงานแสงอาทิตย์ มาใช้เริ่มนิยมมากขึ้นมากกว่าเมื่อสิบปีที่ผ่านมา

พลังงานแสงอาทิตย์ คืออะไร

พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) คือ พลังงานทดแทนชนิดหนึ่งที่สามารถผลิตได้จากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ที่อยู่ในรูปของแสงแดด ซึ่งให้ทั้งพลังงานแสงและพลังงานความร้อน พลังงานแสงอาทิตย์ถือเป็นพลังงานหมุนเวียนสะอาดที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษหรือส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และยังเป็นแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพสูง ไม่มีวันหมด และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย หลัก ๆ คือ การผลิตกระแสไฟฟ้าและการผลิตพลังงานความร้อน

 

พลังงานแสงอาทิตย์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 

พลังงานที่เกิดจากแสง รูปแบบการนำพลังงานของแสงอาทิตย์มาใช้งาน แบ่งอย่างกว้าง ๆ เป็น 2 รูปแบบ ขึนอยู่กับวิธีการในการจับพลังงานแสง การแปรรูปให้เป็นพลังงานอีกรูปหนึ่ง และการแจกจ่ายพลังงานที่ได้ใหม่นั้น รูปแบบแรกเรียกว่า แอคทีพโซลาร์ เป็นการใช้วิธีการของโฟโตโวลตาอิคส์ หรือ solar thermal เพื่อจับและเปลี่ยนพลังงานของแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานความร้อนโดยตรง

 

อีกรูปแบบหนึ่งก็คือ พาสซีฟโซลาร์ เป็นวิธีการใช้ประโยชน์ทางอ้อม ได้แก่ การออกแบบอาคารในประเทศหนาวให้รับแสงแดดได้เต็มที่ หรือ การติดตั้งวัสดุที่ไวต่ออุณหภูมิ thermal mass เพื่อปรับสมดุลของอากาศในอาคาร หรือติดตั้งวัสดุที่มีคุณสมบัติกระจายแสง หรือการออกแบบพื้นที่ว่างให้ อากาศหมุนเวียนโดยธรรมชาติ
พลังงานที่เกิดจากความร้อน เช่นพลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานคลื่น

 

เครดิตจากเพจ

 

พลังงานแสงอาทิตย์ ข้อดี ข้อเสีย คืออะไร

 

ข้อดี ข้อเสีย
1.พลังงานแสงอาทิตย์ใช้ไม่มีวันหมด 1.ปริมาณในการผลิตไฟฟ้าไม่มีความแน่นอน ขึ้นอยู่กับแสงอาทิตย์ของแต่ละวัน
2.เป็นแหล่งพลังงานที่สะอาด 2.พลังงานที่ได้จะไม่สูง ถ้าต้องการใช้ไฟฟ้าสูงอาจจะต้องเพิ่มจำนวนของแผงโซล่าเซลล์ตามขนาดที่ต้องการใช้ไฟฟ้า
3.ปลอดภัย ไม่ต้องเสี่ยงกับปัญหาไฟฟ้าลัดวงจร 3.เนื่องจากกระแสไฟฟ้าจะผลิตได้จากแสงอาทิตย์เท่านั้น ต้องมีการเก็บสะสมไว้ถึงจะมีไฟฟ้าใช้ในเวลากลางคืน
4.ประหยัดค่าไฟ ดีต่อสิ่งแวดล้อม 4.การติดตั้งบางครั้ง บางจุดติดตั้ง อาจจะไม่คุ้มค่า ต้องศึกษาและคำนวณให้ดีก่อนทำการติดตั้งเพื่อใช้งาน
5.การติดตั้งง่าย ดูแลง่าย ใช้งานง่าย
6.ผลิตไฟฟ้าได้ทุกขนาด สามารถประยุกต์ใช้ได้หมด

โซล่าเซลล์ กับ พลังงานแสงอาทิตย์ เกี่ยวข้องกันอย่างไรบ้าง

การที่จะนำแสงอาทิตย์มาแปลงใช้ต้องอาศัยแผงโซล่าเซลล์เพื่อนำมาเปลี่ยนเป็นกระแสไฟเข้าสู่โคมไฟเพื่อให้แสงสว่าง  ซึ่งมีรูปแบบและส่วนประกอบเบื้องต้นดังนี่้

หลักการทำงานของไฟโซล่าเซลล์คือการใช้แผงโซล่าเซลล์ในการดูดซับแสงแดดและเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าและเก็บไว้ในแบตเตอรี่ผ่านตัวควบคุม เมื่อถึงเวลากลางคืน (หรือเมื่อท้องฟ้าไม่สว่างพอ) ตัวควบคุมจะควบคุมแบตเตอรี่เพื่อจ่ายพลังงานให้กับแหล่งกำเนิดแสง LED ประสิทธิภาพสูงและประหยัดพลังงานเพื่อให้ได้แสงสว่างโดยรอบ

เครดิตจากเพจ https://www.enrichenergy.co.th/

ประกอบไปด้วย แผงโซล่าเซลล์, เครื่องควบคุมการชาร์จ, แบตเตอรี่, โคมไฟและหลอดไฟ, เสาไฟและตู้ไฟสำหรับใส่อุปกรณ์ (กรณีเป็นหลอดไฟ 220Vac ก็ต้องมีตัวแปลงไฟขึ้น หรือ Voltage Inverter ด้วย)

 

โดยสรุป หลักการออกแบบระบบโคมไฟถนนโซล่าเซลล์ แอลอีดี (Solar Streetlight LED) ต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้

  • แสงสว่างให้เพียงพอ
  • ระบบมีสเถียรภาพ
  • การรักษาอายุการใช้งานของแบตเตอรี่
  • การประหยัดงบประมาณ
  • ความคุ้มค่า

จุดสำคัญในการเรียนรู้การใช้โซล่าเซลล์ คือ แผงโซล่าเซลล์

แผงโซล่าเซลล์ 

คือการนำเอา โซล่าเซลล์ จำนวนหลายๆเซลล์ มาต่อวงจรรวมกัน อยู่ในแผงเดียวกัน เพื่อที่จะทำให้สามารถผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้าได้มากขึ้น โดยไฟฟ้าที่ได้นั้นเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC)

แผงโซล่าเซลล์ คือ แผงที่มีโซล่าเซลล์จำนวนหลายๆเซลล์ต่อวงจรรวมกันอยู่ภายในแผงเดียว ซึ่งจะทำให้เราสามารถที่จะผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้าจะได้ในปริมาณมากขึ้น ไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซล่าเซลล์จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง

แผง โคมไฟถนนโซล่าเซลล์ , แผงโซล่าเซลล์ สำหรับ พลังงานแสงอาทิตย์ ข้อดี ข้อเสีย
แผงโซล่าเซลล์ , ไฟโซล่าเซลล์

 

ประเภทของแผงโซล่าเซลล์

แผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells)
คือ แผงโซล่าเซลล์ที่ทำมาจากผลึกซิลิกอนเชิงเดี่ยวเชิงเดี่ยว (mono-Si) หรือบางทีก็เรียกว่า single crystalline (single-Si) เป็นชนิดที่ซิลิกอนมีความบริสุทธิสูง สังเกตค่อนข้างง่ายกว่าชนิดอื่น ลักษณะของแต่ละเซลล์จะเป็นสีเหลี่ยมตัดมุมทั้งสี่มุม มีสีน้ำเงินเข้มโดยเริ่มมาจากแท่งซิลิคอนทรงกระบอก อันเนื่องมาจาก เกิดจากกระบวนการ กวนให้ผลึกเกาะกันที่แกนกลาง ที่เรียกว่า Czochralski process จึงทำให้เกิดแท่งทรงกระบอก จากนั้นจึงนำมาตัดให้เป็นสี่เหลี่ยม และลบมุมทั้งสี่ออก เพื่อที่จะทำให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด และลดการใช้วัตถุดิบโมโนซิลิคอนลง ก่อนที่จะนำมาตัดเป็นแผ่นอีกที จึงทำให้เซลล์แต่ละเซลล์หน้าตาเป็นอย่างที่เห็นในแผงโซล่าเซลล์

 

แผงโซล่าเซลล์ชนิด โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells)
แผงโซล่าเซลล์ชนิด โพลีคริสตัลไลน์ เป็นแผงโซล่าเซลล์์ชนิดแรก ที่ทำมาจากผลึกซิลิคอน โดยทั่วไปเรียกว่า โพลีคริสตัลไลน์ (polycrystalline,p-Si) แต่บางครั้งก็เรียกว่า มัลติ-คริสตัลไลน์ (multi-crystalline,mc-Si) โดยในกระบวนการผลิตแผงโซล่าเซลล์ชนิดนี้ เกิดจากการหลอมซิลิคอนหรือแก้วให้เหลว แล้วมาเทใส่โมลด์หรือแม่แบบที่เป็นสี่หลี่ยม พอเย็นตัวแล้วนำแท่งแก้วสี่เหลี่ยมนั้นมาตัดเป็นแผ่นบางๆ จึงทำให้เซลล์แต่ละเซลล์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ไม่มีการตัดมุม สีของแผงจะออกสีน้ำเงินฟ้าไม่เข้มมาก

ตัวอย่างโคมไฟถนนโซล่าเซลล์ ที่นำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้

ข้อควรรู้การใช้ผลิตภัณฑ์โซล่าเซลล์

1.ความสม่ำเสมอในการใช้งาน ต้องทำความเข้าใจว่าลักษณะของไฟประเภท Solar จะมีความเสถียรของการให้แสงสว่างไม่เท่ากับไฟบ้าน เพราะเป็นการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นหลัก ซึ่งอาจมีฝนตก แดดไม่ออก เมฆบัง ฯลฯ เกิดขึ้นได้ทั้งวันดังนั้น ในวันนนั้นๆแผงอาจไม่สามารถเก็บพลังงานได้เต็มที่ ทำให้แสงที่ออกมาอาจไม่เพียงพอ หรือสว่างน้อยเป็นต้น

2.Cycle ในการทำงาน อาจต้องรอระยะในการดู ซึ่งอาจเป็นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ในการสังเกตและให้รอบในการทำงานของแผง แบตเตอรี่และโคมไฟ อยู่ตัวการที่โคมไม่ติดหรือไม่สว่างอาจต้องให้สังเกต 1-2 สัปดาห์ในเวลาเดียวกันเพื่อยืนยันตาม รอบการทำงานของระบบ มีหลายครั้งที่ปัจจัยภายนอกเช่น แดด ฯลฯ กระทบในบางวันทำให้โคมไฟไม่สว่าง แต่ผ่านไปช่วงระยะนึงแล้วกลับมาทำงานปกติ

3.การวางแผง Solar : เนื่องจากแผง Solar จะทำงานได้อย่างเต็มที่นั้น มีปัจจัยที่หลายอย่างที่เข้ามาขัดขวาง ได้แก

3.1 “แสงแดด” : แดดที่ออกไม่สม่ำเสมอ แดดร่มหรือจ้าไม่เป็นเวลา
3.2 “การวางแผง Solar” : การวางแผง Solar ในตำแหน่งที่ไม่สามารถรับแสงแดดได้ดี ก็มีผลทำให้ไม่สามารถเก็บ พลังงานได้เต็มที่เพื่อนำไปใช้จ่ายไฟ เช่น ติดตั้งในที่ร่ม ติดตั้งในที่ซึ่งมีต้นไม้บดบังแสงแดด มีฝุ่นจับแผง Solar cell จำนวนมาก เป็นต้น
3.3 ให้สังเกตการณ์บังของแสง เช่น เงาของต้นไม้ที่ใกล้เคียง หรือสิ่งปลูกสร้างอาจบังแดดได้
3.4 รวมถึงแผงควรติดตั้งไปในทิศตะวันตก เพื่อรับแดดบ่ายที่มากกว่าช่วงเช้าก็มีส่วนในการรับแสงแดดที่เพียงพอ

4.แบตเตอรี่ : หากเพิ่งมีการเปิดใช้งาน ให้ทิ้งเวลาเพื่อให้ Cycle หรือ ระบบวงจรการทำงานของไฟ Solar ได้ทำงานไปก่อน ซึ่งบางคนมักเข้าใจผิดว่าไฟพัง

Scroll to Top